เป้าหมายการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนและนักเรียนได้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของทรัพยากร
องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อ
“รู้ลักษณ์ รู้ชื่อ รู้จัก” ให้นักเรียนรู้จักชื่อ จากการสัมผัส การสังเกตพรรณไม้หรือ ปัจจัยที่ศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้นำเข้าปลูกในโรงเรียน
การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียนอาจเป็นพืชในกลุ่มที่สนใจโดยเน้นพืชพรรณไม้ในท้องถิ่น ซึ่งอาจมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ชื่อที่ถูกต้องตามวิธีการจัดทำป้ายชื่อโดยมีการบันทึก แหล่งที่เก็บรวบรวม ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของท้องถิ่น จะเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ
“ธรรมชาติการเรียนรู้” การศึกษาเพื่อให้เกิดธรรมชาติการเรียนรู้ ความหลายหลากและธรรมชาติแห่งชีวิต การศึกษาด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา การปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ การศึกษาธรรมชาติแห่งชีวิต รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิต การศึกษา สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว รู้สัมพันธ์ รู้ผูกพันธ์ รู้ดุลยภาพ การศึกษาประโยชน์แท้แก่มหาชน สัมผัส เรียนรู้ พิจารณา ศักยภาพ จินตนาการ เห็นคุณ รู้ค่า สร้างสรรวิธี การศึกษาผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย
องค์ประกอบที่ 4 การเขียนรายงาน
“รู้สาระ รู้สรุป รู้สื่อ” การเขียนรายงานผลการศึกษา มาเขียนรายงานแบบวิชาการ การเขียนรายงานเชิงพรรณนา คุณธรรม คติธรรม เป็นข้อมูลเก็บไว้ในมุมสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน ซึ่งอาจจะทำการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน จากนั้นนำเสนออันจะก่อให้เกิดผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นของพืชชนิดนั้น ๆ การรวบรวมรายงานจากการศึกษา
องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
“นำองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้าง” การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน นำไปบูรณาการวิชาการ บูรณาการแห่งชีวิต นำองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง การขยายองค์ความรู้ เป็นการอาทร เป็นการแบ่งปัน การจินตนาการให้กว้าง จนเห็นเป็นนิมิต การขยายผลการเรียนรู้สู่แผ่นดิน สู่ประเทศ